top of page
Search
  • Writer's pictureK

มารู้จักชนิดของชาญี่ปุ่นกันเถอะ

#mascoteers #kyodo l คาแรกเตอร์ x ญี่ปุ่น

.

อย่างที่ทราบกับดีว่าชานั้นเป็นเครื่องดื่มที่ยอดนิยมไปทั่วโลกและเป็นส่วนนึงของการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่นที่มีชาเขียว และพิธีชงชาอยู่คู่กับประวัติศาสตร์มาอย่างช้านาน

.

แน่นอนว่าชาในประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ 2-3 ชนิดที่เรารู้จักกัน แต่มีมากหลายชนิดมากกว่านั้น วันนี้เลยขอแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับชาญี่ปุ่นมากขึ้นค่ะ

มาเริ่มกันด้วยชาเขียวที่ทุกคนรู้จักกันดี หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “เรียวคุฉะ (緑茶)” . ชาเขียวเป็นชาที่ปลูกทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น สามารถแบ่งชนิดแยกย่อยได้ตามคุณภาพของใบชา ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว และกรรมวิธีการนำเอาใบชาอบ โดยเรียวคุฉะสามารถแบ่งได้แยกย่อยอีก 3 ประเภท ได้แก่ . เซนฉะ (煎茶) : ชาเขียวที่คนนิยมดื่มและสามารถพบได้ทั่วไปมากที่สุด ตอนปลูกได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่ ชาที่ชงด้วยใบชาชนิดนี้จะมีสีเขียวเหลืองไปจนถึงสีเขียว-น้ำตาลเข้ม มีรสขมฝาด . เกียวคุโระ (玉露) : ใบชาที่มีคุณภาพดีที่สุดในหมู่ชาเขียวด้วยกัน ด้วยการปลูกที่ใบชาไม่ได้รับแสงอาทิตย์ จึงทำให้ชาที่ชงด้วยใบชานี้มีรสชาติไปทางหวาน และมีคาเฟอีนสูงกว่าใบชาชนิดอื่น . บันฉะ (番茶) : เป็นใบชาที่ถูกเก็บเกี่ยวจากต้นชาต้นเดียวกับที่ปลูกเซนฉะ โดยการเก็บเกี่ยวชาชนิดนี้จะเก็บในช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง มีคุณภาพน้อยที่สุดในหมู่ใบชาด้วยกัน มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และยังมีชนิดแยกย่อยไปอีก 22 ชนิด

นอกจากชาเขียว 3 ประเภทใหญ่ๆที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีชาเขียวชนิดอื่นนอกจากนี้อีกด้วย . มัทฉะ (抹茶) : ผงชาที่นำใบชา “เทนฉะ” ซึ่งปลูกวิธีเดียวกับ “เกียวคุโระ” มาบดละเอียด มักใช้ในพิธีชงชา และนำไปเป็นส่วนผสมของขนม ไอศครีม เครื่องดื่ม และอาหารอย่างแพร่หลาย มีรสชาติเข้มข้มและกลมกล่อม . โฮจิฉะ (ほうじ茶) : ชาที่เกิดจากนำใบชา”บันฉะ”ไปคั่ว ชาที่ชงด้วยใบชาชนิดนี้มีสีน้ำตาลแดงและมีกลิ่นหอมคล้ายคาราเมล . เกนไมฉะ (玄米茶) : ชาเขียวที่ผสมกับข้าวคั่วที่ยังไม่ถูกขัดสี ทำให้ชาที่ชงออกมามีสีเหลืองและรสชาติมีเอกลักษณ์ เป็นชาที่นิยมดื่มเช่นกับเซนฉะ

และในญี่ปุ่นนั้นยังมีชาที่ไม่ได้มาจากใบชาเช่นกัน . อย่างเช่น มุกิฉะ (麦茶) หรือเรียกอีกชื่อว่าชาข้าวบาเล่ย์ เป็นชาที่เกิดจากการนำข้าวบาเล่ย์คั่วไปผสมน้ำ ซึ่งคนญี่ปุ่นมักจะดื่มกันแบบเย็นในฤดูร้อนและเหมาะให้เด็กๆดื่มเพราะชาชนิดนี้ไม่มีไม่มีคาเฟอีนค่ะ

.

Source

.

ผู้เขียน

Nurukappa

แอดมินเพจ : Mascoteers x Kyodo




33 views0 comments

コメント


bottom of page